TOM YAM KUNG ง่ายๆ วิธิทำต้มยำกุ้ง อาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย
TOM YAM KUNG
ต้มยำเป็นการปรุงอาหารชนิดหนึ่งของคนไทยประเภทน้ำแกง เครื่องเทศที่ขาดไม่ได้เลย คือ
..........ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู น้ำมะนาว..........
ต้มยำทำได้หลายชนิดมีทั้งต้มยำปลาต้มยำเห็ดต้มยำไก่และต้มยำกุ้งสำหรับต้มยำกุ้งนับเป็นอาหารไทย
ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกทั้งในแง่ความอร่อยและยังเป็นอาหารจานสมุนไพรต้านมะเร็งอีกด้วย
ต้มยำกุ้งตำรับดั้งเดิมนั้นน้ำแกงใสมีกลิ่นหอมปัจจุบัยต้มยำกุ้งถูกดัดแปลงให้น้ำข้นสีสวยด้วยน้ำพริกเผาหรือบาง
ครั้งก็เติมน้ำกะทิหรือนมสดลงไป
.....................................................................
เครื่องปรุงและวิธีทำต้มยำกุ้ง
เครื่องปรุง
กุ้งกุลาดำ น้ำหนักตัวละ 100 กรัม 5 ตัว
เห็ดฟางผ่าครึ่ง 100 กรัม
พริกขี้หนูสวนทุบพอแตก 10 เม็ด
ข่าอ่อนหั่นแว่น 5 แว่น
ตะไคร้หั่นเฉียง 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 3 ถ้วย
วิธีทำ
1. ล้างกุ้ง แกะเปลือก เด็ดหัวไว้หาง ผ่าหลัง ดึงเส้นดำออก
2. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟกลางพอเดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เดือดอีกครั้ง
3. ใส่กุ้ง เห็ดฟาง พอกุ้งสุกเป็นสีชมพู เดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกขี้หนู ยกขึ้น
4. ตักใส่ชาม รับประทานร้อน ๆ
10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องรับประทานอาหารมากมาย มีคำแนะนำจากหลายสำนักให้กินนั่น ห้ามกินนี่จนไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอย่างเต็มที่มาฝาก
1. กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง
2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว
4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและ กระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
5. บอกลาขนมและของกินจุบ จิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ
6. สร้างความคุ้นเคยกับ การกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%
8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย
9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็น คนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด
10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้อ้วนได้
ถ้าปฏิบัติให้ได้ครบทุกข้อตามคำแนะนำข้างต้นนี้ จนเป็นนิสัย สุขภาพดีๆ จะไปไหนเสีย !!
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000079603
กินอาหารอย่างไร ให้อายุยืน
"ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ หมื่นปี หมื่น ๆ ปี" ถ้อยคำคุ้นหู เวลาดูหนังจีน ในราชสำนักโบราณ สะท้อนให้ชวนคิดว่า คนจีนโบราณ น่าจะให้ความสำคัญ กับการมีอายุยืน และการบำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว ถ้าจะว่าไป เชื่อมั้ยว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อายุขัยของคนเรา น่าจะยืนยาวถึง 120 ปี แต่เท่าที่เห็น ๆ อายุถึง 100 ปีก็เก่งมาก ๆ แล้ว ส่วนตัวคนเขียนเองยังสงสัยว่าจะอายุยืนถึง 60 ปีรึเปล่า และก็ไม่เคยคาดหวังว่า อยากจะมีอายุยืนถึง 100 ปีหรอก แต่อยากอยู่ แบบสุขภาพแข็งแรงมากกว่า เคยอ่านบทความ ของแพทย์หญิงพักตร์พิโล ทวีสิน เขียนไว้ในหนังสือสกุลไทย (เกี่ยวกับเรื่องวิธีกิน ให้อายุยืน) เห็นว่าน่าสนใจ วันนี้เลยขอเก็บมาเล่าสู่กันฟัง
ท่านบอกว่าหลักสำคัญที่จะกินให้ มีอายุยืนก็คือ ให้ทานอาหาร เพียงแต่วันละน้อย ๆ โดยทั่วไปพบว่า คนที่มีอายุยืนยาวเกิน 100 ปี มักทานอาหาร ให้ได้พลังงานเพียงแค่วันละ 1400 - 1500 แคลอรี่เท่านั้น โดยในอาหาร 1 จาน ครึ่งหนึ่งควรเป็นผักผล ไม้ ยิ่งสดยิ่งดี ไม่ต้องผ่านความร้อน ไม่ต้องต้มสุก (ขอแถมนิดนึงว่า ต้องล้างสะอาด ปราศจากยาฆ่าแมลงด้วยนะ) อีก 1 ใน 4 เป็นเนื้อ สัตว์ (ไม่ติดมัน) เพื่อให้ได้โปรตีนไปเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อีก 1 ใน 4 ค่อยเป็นอาหารประเภทแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้พลังงาน แต่ให้เลือกสภาพใกล้เคียงธรรมชาติให้มากที่สุด ประเภท ข้างกล้อง เผือกต้ม มันต้ม ย่อมดีกว่า ข้าวขัดขาว สปาเกตตี้ ก๋วยเตี๋ยว ที่แปลงรูปซะจนไม่รู้ต้นกำเนิดแล้ว (หลับตานึกภาพหน้าตา ปริมาณ และสัดส่วนอาหารที่ทานมื้อล่าสุด แล้วถอนหายใจ เฮ้อ... ใครที่ทานได้แบบอาจารย์ท่านว่า ก็ดีใจด้วย)
วิธีการกินก็สำคัญ อาจารย์ท่านให้ยึดหลักว่า "ตอนเช้ากินแบบพระราชา กลางวันกินแบบชาวบ้านทั่วไป ตกเย็นให้กินแบบยาจก "หมายความว่า ทานมื้อเช้าให้หนักเต็มที่ เพราะร่างกายเรา อดอาหารมาหลายชั่วโมงในช่วงนอนหลับ นับตั้งแต่อาหารมื้อเย็น เราอาจจะไม่ได้กินอะไรอีกเลย ท้องว่างไปเกือบ 12 ชั่วโมง มื้อเช้าควรเติมพลังงาน ให้เติมเหมือนเติมน้ำมันให้เต็มถัง จะได้ขับเคลื่อน ต่อสู้กับความเครีด และทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงไปตลอดทั้งวัน ส่วนมื้อกลางวันก็เพียงแค่เติมพลังงานย่อย ๆ แต่พอประมาณ รับประทานเหมือนคนปกติ ไม่ต้องมากมายอะไร มื้อเย็น อาจจะทานบ้างไม่ทานบ้างก็ได้ และไม่ควรรับประทานอาหารเสร็จ ก็ไปเข้านอนเลย เพราะเลือดส่วนใหญ่ยังไปเลี้ยงอยู่ที่กระเพาะอาหาร และทางเดินอาหาร เพื่อทำการย่อยดูดซึมอาหาร จึงทำให้เลือด ไม่ไหลเวียนไปสู่สมอง การนอนหลับจึงไม่เต็มอิ่ม หลับไม่สนิท ในขณะเดียวกัน เวลาที่เราหลับลึก ๆ นั้น ร่างกายกำลังซ่อมแซมตัวเอง เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า หากช่วงที่เรานอนเลือดกลับไปอยู่ที่ท้องแล้ว ร่างกายเราจะซ่อมแซมตัวเองได้อย่างไร เซลล์มันย่อมสึกหรอ ไม่ดีต่อสุขภาพแน่ ๆ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นเบา ๆ และทานให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนเวลาเข้านอนสัก 3-4 ชั่วโมง จะได้ไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ
แบบว่าอาจารย์ครับ คือตอนนี้รู้สึกว่าวิธีการกินของเราส่วนมากมันจะตีลังกา กับที่อาจารย์บอกมาอยู่น่ะ คือว่าตอนเช้าเวลารีบเร่ง มีอะไรก็หยอดใส่ท้องไปก่อน นมกล่อง กาแฟแก้ว กับขนมปัง (แบบยาจก) กลางวันพอจะมีเวลาขึ้นมาหน่อย ก็ทานแบบชาวบ้านๆ ค่ะ อาหารจานเดียว ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ตกเย็นหิวโซ โจ้กันเต็มที่ มีอะไรก็ยกมาเลยน้อง (แบบพระราชา) หนักกว่านั้น บางครั้งต่อมื้อดึกก่อนนอนอีกต่างหาก ... ใครเป็นแบบที่ว่าก็ลองหันมาพิจารณา ปรับสูตรการรับประทานอาหารกันใหม่ อายุอาจจะไม่ยืนถึงหมื่นปี แต่ก็จะได้อยู่แบบสุขภาพดี กันถ้วนหน้า
อาหารเพิ่มพลังสมอง(ข้าวกล้อง)
ข้าวกล้องคืออะไร ?
คือข้าว ที่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออกโดยที่ยังมีจมูกข้าว และเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำ) อยู่ ข้าวกล้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวนี้มีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์มาก
สำหรับข้าวขาวที่เรากินๆ กันอยู่นั้น เป็นข้าวที่เกิดจากการขัดสีหลายๆ ครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวและจมูกข้าวหลุดออกไป จนเหลือแต่เนื้อในของข้าว
ข้าวกล้องบางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง
ข้าวกล้องมีโปรตีนประมาณ 7-12% (แล้วแต่พันธุ์ข้าว) นักค้นคว้าชื่อ โรสเดล ( Rosedale ) ได้วิเคราะห์ว่า การขัดสีข้าวกล้องจนมีสีขาว จะทำให้โปรตีนสูญหายไปประมาณ 30%
ประโยชน์มากมายของการกิน ข้าวกล้อง
•
ได้วิตามินบีรวม ช่วยป้องกันและบรรเทาอาหารอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมอง ทำให้เจริญอาหาร
•
ได้วิตามินบี 1 ซึ่งถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้
•
ได้วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก
•
ได้ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
•
ได้แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
•
ได้ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน
•
ได้ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
•
ได้โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
•
ได้ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีโคเรสเตอรอล
•
ได้ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา
(โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมีอาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง)
•
ได้คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย
•
ได้กากอาหาร ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย
•
วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้าวกล้องมีอะไรดีกว่าข้าวขาว
ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่าช่วยป้องกันโลหิตจาง
•
ข้าวกล้องมี วิตามินบี 1 มากกว่าข้าวขาวประมาณ 4 เท่า ถ้ากินเป็นประจำ จะป้องกันโรคเหน็บชา
•
วิตามินบี 2 มีมากจะป้องกันโรคปากนกกระจอก
•
วิตามินบีรวม มีมากกว่าจะป้องกัน และบรรเทาอาการอ่อนเพลียและขาไม่มีแรง อาการปวดแสบและเสียวในขา ปวดน่อง ปวดกล้ามเนื้อ ลิ้นแตกหรือมีแผล ริมฝีปากเจ็บหรือมีแผล โรคผิวหนังบางชนิด โรคปลายประสาทอักเสบ และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด
•
วิตามินบีรวม ยังบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้นและเจริญอาหาร
•
ธาตุเหล็ก มีมากเป็น 2 เท่า ช่วยป้องกันโลหิตจาง
•
แคลเซียม มีมากกว่า จะทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
•
ไขมัน มีมากกว่าให้พลังงานแก่ร่างกาย
•
กากอาหาร มีมากกว่าจะช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
•
เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ในข้าวกล้อง มีรวมกัน 20 กว่าชนิด มีหน้าที่ทำให้การทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
•
โปรตีน มีมากกว่าช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ
•
แป้ง (คาร์โบไฮเดรต) มีน้อยกว่าข้าวขาว ช่วยลดความอ้วน ส่วนคนที่ผอมจะสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากได้รับสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น
•
ประหยัดเงินทอง เพราะเจ็บป่วยน้อยกว่า ข้าวกล้องจะมีราคาถูกกว่า เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า
•
มีผลทำให้ สุขภาพจิตและสติปัญญาดีขึ้น เพราะสุขภาพกายดีขึ้น
ปริมาณสารอาหารในข้าวขาว กับข้าวกล้อง
สารอาหาร
ข้าวขาว
ข้าวกล้อง
วิตามิน – บี 1
4 จานกว่า
1 จาน
วิตามิน – บี 2
2 จาน
1 จาน
วิตามิน – บี 6
5 จานกว่า
1 จาน
กากข้าว
2 จานกว่า
1 จาน
ผลเสียของการกิน ข้าวขาว
โรคและอาการต่างๆ ต่อไปนี้ จะลดลงมากหรือป้องกันได้ ถ้ากิน ข้าวกล้อง เป็นประจำ และกินอาหารเพียงพอและถูกหลัก
•
โรคเหน็บชา เพราะขาดวิตามิน-บี 1 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 1 มากกว่าข้าวขาว 385% (พบมากในประเทศที่กินข้าวขาวเป็นอาหารหลัก)
•
โรคปากนกกระจอก เพราะขาดวิตามิน-บี 2 ข้าวกล้องมีวิตามิน-บี 2 มากกว่าข้าวขาว 66% (ตามชนบทมีเด็กเป็นโรคปากนกกระจอก 60%)
•
โรคโลหิตจาง เพราะขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากข้าวกล้องมีธาตุเหล็กมากกว่าข้าวขาว 2 เท่า (ประชากรไทยเป็นโรคโลหิตจาง 40%)
•
โรคนิ่วใน กระเพาะปัสสาวะ (พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี) เกี่ยวเนื่องจากมาจากการขาดธาตุฟอสฟอรัส และอื่นๆ ซึ่งมีในข้าวกล้อง นอกจากนั้น ฟอสฟอรัสยังช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟันอีกด้วย
•
โรคท้องผูก เพราะมีกากอาหารน้อย ข้าวกล้องมีกากอาหารมากกว่า 133% (ข้าวกล้องช่วยป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่)
•
โรคทางระบบ ประสาทบางชนิด และโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง (วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้น และเจริญอาหาร)
•
อารมณ์เสีย ง่ายกว่า หงุดหงิดเพราะชาดวิตามินบีรวม ซึ่งเป็นวิตามินที่เสริมสร้างระบบประสาทของร่างกาย และถ้าระบบประสาทของเราไม่ดี ทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก
•
เบื่ออาหาร เพราะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาว
•
โรคขาดโปรตีน ข้าวกล้องมีโปรตีน ร้อยละ 7-12 (เด็กไทยประมาณร้อยละ 40-60 เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน) ข้าวกล้องมีโปรตีนมากกว่าข้าวขาว 20-30%
•
โรคผิวหนังบางชนิด ขาดวิตามินบีบางตัว
•
อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ ปวดเมื่อยตามตัวและขา เพราะขาดวิตามินบีรวม
•
โรคชัก เนื่องจากขาดวิตามิน บี 6 ซึ่งมีมากในข้าวกล้อง
•
ข้าวขาวมีแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) พอๆ กับข้าวกล้อง แต่มีเกลือแร่และวิตามินต่างๆ น้อยกว่าข้าวกล้อง (ในข้าวกล้องจะมีวิตามินรวมกัน 20 กว่าชนิด) ที่ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างร่างกายให้สมบูรณ์
จะเห็นได้ว่า ผลเสียของการกินข้าวขาวมีมาก เพราะการขัดสีส่วนที่มีคุณค่าต่อร่างกายออกไป หลายท่านอาจจะกินข้าวขาว เพราะไม่รู้ว่ายังมีข้าวที่มีคุณค่ามากอย่างข้าวกล้องอยู่ จนบางคนไม่เคยรู้จักข้าวกล้องด้วยซ้ำ
คนสมัยโบราณแต่ละบ้านจะตำข้าวกินเอง ซึ่งเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งก็คือ ข้าวกล้อง คนสมัยก่อนจึงมีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคอย่างที่คนสมัยนี้เป็นกันเท่าไร เช่น โรคเบาหวาน, หัวใจวาย, มะเร็ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็เพราะการกินไม่เป็น
แหล่งข้อมูล : ธรรม ทัศน์สมาคม
“ สมอง ” ... กองบัญชาการของร่างกาย
“ สมอง ” เป็นอวัยวะที่มีโครงสร้างซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในแทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับรู้กลิ่นและรส เป็นต้น นอกจากนี้สมองยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก การเรียนรู้ และความจำ สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neuron) จำนวนมากกว่าแสนล้านเซลล์ที่มีแขนงประสาท (neuronal processes) งอกออกมา ประสานกันเป็นร่างแหเพื่อใช้ในการติดต่อและส่งสัญญาณประสาท โดยมีอัตราความเร็วของการส่งสัญญาณตั้งแต่ 0.5-120 เมตร/วินาที เชื่อว่าเซลล์ประสาทจะมีจำนวนคงที่เมื่อแรกคลอด แต่การงอกของแขนงประสาทจะเพิ่มขึ้นได้หลังจากมีการกระตุ้นจากการเรียนรู้และ ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ทำให้สามารถส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้น และมีการติดต่อประสานงานที่ต่อเนื่องครอบคลุม สมองจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความฉลาดและสติปัญญาได้
“ สารสื่อประสาท ” ปัจจัยที่ช่วยการทำงานของสมอง
เช่น เดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย สมองต้องการสารอาหารเพื่อเป็นพลังงานและใช้ในการทำงาน การติดต่อกันระหว่างเซลล์สมองยังต้องการสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) อย่างน้อย 3 ชนิด ที่จะทำให้การส่งข้อมูลของสมองเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สารสื่อประสาทเหล่านี้สร้างมาจากสารอาหารต่างๆ ที่รับประทาน โดยมีวิตามินและแร่ธาตุช่วยในกระบวนการ...ได้แก่
อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ประสาท ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างความจำด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จะมีอะซิทิลโคลีนในสมองน้อยกว่าคนปกติ อะซิทิลโคลีนมีมากในอาหาร จำพวกไข่แดง ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม เนยแข็ง และผักโดยเฉพาะ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี เป็นต้น
โดปามีน (Dopamine) เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความสนใจ และการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อความรู้สึกตื่นตัว โดยจะเห็นได้จากผู้ที่เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) จะมีโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ โดปามีนมีมากในอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 60-80 กรัม จะช่วยให้ตื่นตัว และมีพลังได้
ซีโรโตนิน (Serotonin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ โดยซีโรโตนินจะทำงานเฉพาะในบริเวณสมองส่วนกลาง (brain rewards system) เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ พบว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีระดับของซีโรโตนินในสมองบริเวณนี้น้อยกว่า ปกติ สารอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีโรโตนินในสมอง โดยพบว่าภายใน 30 นาทีหลังรับประทานอาหารประเภทดังกล่าวจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบได้นาน หลายชั่วโมง
สมองและความจำดี ..... เริ่มต้นที่ “ อาหาร ”
สมองต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการจดจำข้อมูลต่างๆ เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตแล้ว ในระยะเริ่มแรกเด็กจะขาดสมาธิ และเลี้ยงยาก ต่อมาในระยะยาวจะทำให้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาช้ากว่าเด็กปกติ หรืออาจปัญญาอ่อนได้ ขึ้นกับความรุนแรงของการขาดสารอาหาร สมองต้องการอาหารดังนี้...
เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีนที่เป็นโครงสร้างของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งสมอง นอกจากนี้ยังใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมอง มีกรดอะมิโน 2 ชนิดในเนื้อสัตว์ที่มีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาท คือ ทริปโตแฟน ( tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร เพื่อนำไปสร้างสารสื่อประสาทซีโรโตนิน และไทโรซีน (tyrosine) ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ โดยจะนำไปใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทโดปามีน
อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ และมีไทโรซีนสูง เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง ตื่นตัว จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในช่วงเช้า และกลางวัน ส่วนอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง มีโปรตีนต่ำ และมีทริปโตแฟนสูง เช่น ข้าว ถั่วเล็ดแห้งต่างๆ
งา และขนมหวาน จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดี จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในมื้อเย็น ที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนอนหลับอย่างสุขสงบ
แป้งและน้ำตาล เมื่อถูกย่อยจะได้กลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมอง จึงควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้ระดับของสารสื่อประสาทไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดอาการมึนหัว ง่วงนอน สับสน และอาจถึงกับเป็นลม ชัก หมดสติได้ แหล่งของแป้งและน้ำตาลควรมาจากข้าว ธัญพืชชนิดต่างๆ
ผักและผล ไม้ ที่มีกากใยมากกว่าขนมหวานเพราะมีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เนื่องจากใยอาหารจะช่วยในการดูดซึมน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงเร็วเกินไป สำหรับอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก หลังจากรับประทานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมามากเพื่อรักษาระดับน้ำตาล และอาจทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีผลกับการทำงานของสมองได้
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน จึงไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมหวานมากเกินไป เพราะจะมีผลต่อสมาธิในการเรียน ความจำ และการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะงอแงและเลี้ยงยาก
ไขมัน ส่วนประกอบของสมองมากกว่าร้อยละ 60 เป็นไขมันที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย กรดไขมันโอเมก้า- 3 ที่ประกอบด้วย EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยพบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า- 3 ไม่เพียงพอจะทำให้มีอาการซึมเศร้า ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ลดลง IQ ต่ำ และอาจมีอาการทางจิตอื่นๆ ในทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโตจะทำให้สมองมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ โดยมีขนาดเล็ก และมีผลต่อการมองเห็น กรดไขมันโอเมก้า- 3 มีมากในปลาทะเลทุกชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล เป็นต้น
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีองค์ประกอบของไขมันที่ ผ่านกระบวนการมาแล้ว (hydrogenated) เนื่องจากไขมันดังกล่าวได้มีการปรับโครงสร้าง เมื่อเข้าสู่สมองจะมีผลกระทบต่อการทำงาน และการส่งกระแสประสาทของเซลล์สมอง นอกจากนี้ไขมันที่ผ่านกระบวนการนี้ยังมีลักษณะเป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกาะและอุดตันเส้นเลือดได้ โดยหากไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะทำให้สมองบริเวณนั้นตาย และเป็นอันตรายถึงชีวิต
ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง โดยวิตามินบี ชนิดต่างๆ จะช่วยในกระบวนการสร้างพลังงาน วิตามินเอ ซี และอี จะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของสมองต่อสารต่างๆ ที่เป็นมลพิษ โซเดียม โปแทสเซียม และแคลเซียมช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและกระบวนการเก็บความจำ เหล็กมีผลต่อสมาธิและการเรียนรู้ พบว่าเด็กที่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอจะมีผลการเรียนที่ดี และสนใจอยู่กับบทเรียนได้นานขึ้น
อาหารกับโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease)
ถึงแม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันหรือชะลอสภาวะการทำงานของสมองไม่ให้เสื่อมลงไปกว่าเดิมได้ โดยวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การหลีกเลี่ยงจากมลพิษ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง มีงานวิจัยมากมายพบว่าโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารหลายชนิด เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินอี วิตามินซี ซึ่งมีอยู่มากในผักและผลไม้จำพวกมะเขือเทศ แครอท และ ผักขม ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ ทำให้ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ (free radicals) นอกจากนี้แล้ว DHA ที่มีในไขมันจากปลาทะเล ก็ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของเซลล์สมองได้
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday
อาหารเพิ่มพลังสมอง
“ สมอง ” ... กองบัญชาการของร่างกาย
“ สมอง ” เป็นอวัยวะที่มีโครงสร้างซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในแทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับรู้กลิ่นและรส เป็นต้น นอกจากนี้สมองยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก การเรียนรู้ และความจำ สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาท (neuron) จำนวนมากกว่าแสนล้านเซลล์ที่มีแขนงประสาท (neuronal processes) งอกออกมา ประสานกันเป็นร่างแหเพื่อใช้ในการติดต่อและส่งสัญญาณประสาท โดยมีอัตราความเร็วของการส่งสัญญาณตั้งแต่ 0.5-120 เมตร/วินาที เชื่อว่าเซลล์ประสาทจะมีจำนวนคงที่เมื่อแรกคลอด แต่การงอกของแขนงประสาทจะเพิ่มขึ้นได้หลังจากมีการกระตุ้นจากการเรียนรู้และ ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ทำให้สามารถส่งสัญญาณประสาทได้เร็วขึ้น และมีการติดต่อประสานงานที่ต่อเนื่องครอบคลุม สมองจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความฉลาดและสติปัญญาได้
“ สารสื่อประสาท ” ปัจจัยที่ช่วยการทำงานของสมอง
เช่น เดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย สมองต้องการสารอาหารเพื่อเป็นพลังงานและใช้ในการทำงาน การติดต่อกันระหว่างเซลล์สมองยังต้องการสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) อย่างน้อย 3 ชนิด ที่จะทำให้การส่งข้อมูลของสมองเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ สารสื่อประสาทเหล่านี้สร้างมาจากสารอาหารต่างๆ ที่รับประทาน โดยมีวิตามินและแร่ธาตุช่วยในกระบวนการ...ได้แก่
อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ประสาท ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างความจำด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จะมีอะซิทิลโคลีนในสมองน้อยกว่าคนปกติ อะซิทิลโคลีนมีมากในอาหาร จำพวกไข่แดง ถั่ว ข้าวไม่ขัดสี ตับ เนื้อสัตว์ต่างๆ ปลา นม เนยแข็ง และผักโดยเฉพาะ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี เป็นต้น
โดปามีน (Dopamine) เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความสนใจ และการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็มีผลต่อความรู้สึกตื่นตัว โดยจะเห็นได้จากผู้ที่เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) จะมีโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ โดปามีนมีมากในอาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ถั่วต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 60-80 กรัม จะช่วยให้ตื่นตัว และมีพลังได้
ซีโรโตนิน (Serotonin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ โดยซีโรโตนินจะทำงานเฉพาะในบริเวณสมองส่วนกลาง (brain rewards system) เมื่อเกิดความรู้สึกพอใจ พบว่าผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีระดับของซีโรโตนินในสมองบริเวณนี้น้อยกว่า ปกติ สารอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว พาสต้า ผักประเภทหัว ธัญพืช และขนมปัง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมทริปโตแฟน (tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีโรโตนินในสมอง โดยพบว่าภายใน 30 นาทีหลังรับประทานอาหารประเภทดังกล่าวจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบได้นาน หลายชั่วโมง
สมองและความจำดี ..... เริ่มต้นที่ “ อาหาร ”
สมองต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการจดจำข้อมูลต่างๆ เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตแล้ว ในระยะเริ่มแรกเด็กจะขาดสมาธิ และเลี้ยงยาก ต่อมาในระยะยาวจะทำให้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาช้ากว่าเด็กปกติ หรืออาจปัญญาอ่อนได้ ขึ้นกับความรุนแรงของการขาดสารอาหาร สมองต้องการอาหารดังนี้...
เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งของโปรตีนที่เป็นโครงสร้างของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งสมอง นอกจากนี้ยังใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยในการทำงานของสมอง มีกรดอะมิโน 2 ชนิดในเนื้อสัตว์ที่มีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาท คือ ทริปโตแฟน ( tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร เพื่อนำไปสร้างสารสื่อประสาทซีโรโตนิน และไทโรซีน (tyrosine) ที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาเองได้ โดยจะนำไปใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทโดปามีน
อาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ และมีไทโรซีนสูง เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ และนม จะช่วยให้สมองมีพลัง กระฉับกระเฉง ตื่นตัว จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในช่วงเช้า และกลางวัน ส่วนอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง มีโปรตีนต่ำ และมีทริปโตแฟนสูง เช่น ข้าว ถั่วเล็ดแห้งต่างๆ
งา และขนมหวาน จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดี จึงเหมาะสำหรับเป็นอาหารในมื้อเย็น ที่ร่างกายต้องการพักผ่อนนอนหลับอย่างสุขสงบ
แป้งและน้ำตาล เมื่อถูกย่อยจะได้กลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของสมอง จึงควรพยายามรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้ระดับของสารสื่อประสาทไม่สมดุล ซึ่งจะทำให้เกิดอาการมึนหัว ง่วงนอน สับสน และอาจถึงกับเป็นลม ชัก หมดสติได้ แหล่งของแป้งและน้ำตาลควรมาจากข้าว ธัญพืชชนิดต่างๆ
ผักและผล ไม้ ที่มีกากใยมากกว่าขนมหวานเพราะมีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง เนื่องจากใยอาหารจะช่วยในการดูดซึมน้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงเร็วเกินไป สำหรับอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมาก หลังจากรับประทานจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมามากเพื่อรักษาระดับน้ำตาล และอาจทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีผลกับการทำงานของสมองได้
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน จึงไม่ควรให้ลูกรับประทานขนมหวานมากเกินไป เพราะจะมีผลต่อสมาธิในการเรียน ความจำ และการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะงอแงและเลี้ยงยาก
ไขมัน ส่วนประกอบของสมองมากกว่าร้อยละ 60 เป็นไขมันที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย กรดไขมันโอเมก้า- 3 ที่ประกอบด้วย EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA (docosahexaenoic acid) มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง โดยพบว่าผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า- 3 ไม่เพียงพอจะทำให้มีอาการซึมเศร้า ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ลดลง IQ ต่ำ และอาจมีอาการทางจิตอื่นๆ ในทารกและเด็กที่กำลังเจริญเติบโตจะทำให้สมองมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ โดยมีขนาดเล็ก และมีผลต่อการมองเห็น กรดไขมันโอเมก้า- 3 มีมากในปลาทะเลทุกชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล เป็นต้น
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีองค์ประกอบของไขมันที่ ผ่านกระบวนการมาแล้ว (hydrogenated) เนื่องจากไขมันดังกล่าวได้มีการปรับโครงสร้าง เมื่อเข้าสู่สมองจะมีผลกระทบต่อการทำงาน และการส่งกระแสประสาทของเซลล์สมอง นอกจากนี้ไขมันที่ผ่านกระบวนการนี้ยังมีลักษณะเป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกาะและอุดตันเส้นเลือดได้ โดยหากไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะทำให้สมองบริเวณนั้นตาย และเป็นอันตรายถึงชีวิต
ผักและผลไม้ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง โดยวิตามินบี ชนิดต่างๆ จะช่วยในกระบวนการสร้างพลังงาน วิตามินเอ ซี และอี จะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของสมองต่อสารต่างๆ ที่เป็นมลพิษ โซเดียม โปแทสเซียม และแคลเซียมช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและกระบวนการเก็บความจำ เหล็กมีผลต่อสมาธิและการเรียนรู้ พบว่าเด็กที่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอจะมีผลการเรียนที่ดี และสนใจอยู่กับบทเรียนได้นานขึ้น
อาหารกับโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease)
ถึงแม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันหรือชะลอสภาวะการทำงานของสมองไม่ให้เสื่อมลงไปกว่าเดิมได้ โดยวิธีที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การหลีกเลี่ยงจากมลพิษ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง มีงานวิจัยมากมายพบว่าโรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารหลายชนิด เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินอี วิตามินซี ซึ่งมีอยู่มากในผักและผลไม้จำพวกมะเขือเทศ แครอท และ ผักขม ด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ ทำให้ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลายด้วยสารอนุมูลอิสระ (free radicals) นอกจากนี้แล้ว DHA ที่มีในไขมันจากปลาทะเล ก็ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของเซลล์สมองได้
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday
อาหารเพิ่มพลังทางเพศ
1. แครอทและแอปริคอท แครอทเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อ ติดกลุ่มอาหารเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในชาวตะวันออก ราชวงศ์กษัตริย์นิยมเสิร์ฟแครอทในงานเลี้ยงแนะนำหนุ่มสาวในการเลือกคู่ เนื่องจากแครอทมีสารเบต้าแคโรทีนสูง เชื่อกันว่า เบต้าแคโรทีนช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์มและระดับฮอร์โมนเพศโปรเจสเตอโรน ส่วนในประเทศจีนความเชื่อที่ปฏิบัติกันในกลุ่มเจ้าสาวจีน คือ ต้องรับประทานผลแอปริคอทเพื่อเพิ่มโอกาสปฏิสนธิ พูดง่ายๆ คือ จะได้ตั้งครรภ์เร็วขึ้น แอปริคอทมีสารเบต้าแคโรทีนและแมงกานีสสูง ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดถูกใช้ในการสร้างฮอร์โมน 2. กล้วยหอม กล้วย หอมเป็นผลไม้ที่เชื่อว่าเพิ่มความสามารถการมีเซ็กซ์ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะนอกจากกล้วยจะมี โปตัสเซียมสูง ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทแล้ว ยังมีวิตามินบี 6 ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อข่าวในสมองอีกด้วย 3. มะเดื่อ มะเดื่อ เป็นผลไม้ยอดนิยมที่เชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของชาวกรีกในสมัยโบราณ มะเดื่อมีวิตามินบีชนิดไนอะซินสูง วิตามินชนิดนี้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในทุกส่วนของร่างกาย และนอกจากนี้ยังมีแมกนีเซียมสูง ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมน 4. หน่อไม้ฝรั่ง ประเพณีเก่าแก่ของชาวอังกฤษ เชื่อว่า การรับประทานหน่อไม้ฝรั่งต้มทุกเช้า เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน จะช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศได้ดี ทั้งอาจจะเป็นเพราะหน่อไม้ฝรั่งเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นแหล่งของไนอะซิ น 5. ปลาและหอย ปลาและหอย เป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศอีกชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมการกินอาหาร ของหลายๆ ประเทศ ถึงกับว่าเมื่อมีการรณรงค์ให้รับประทานอาหารทะเล สถาบันหอยนางรมของสหรัฐอเมริกาเหนือถึงกับใช้สโลแกนว่า กินหอยนางรม สร้างชีวิตรักให้ยืนยาว การเอ่ยอ้างเช่นนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า หอยนางรมมีแร่ธาตุสังกะสีสูง และสังกะสีช่วยทำให้สเปิร์มเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ตามทฤษฎีจะช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกนั่นเอง นอกจากนี้ สังกะสียังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต่อมลูกหมากบวมอักเสบ ซึ่งถ้าเกิดกับชายใดก็จะทำให้เกิดปัญหาทางเพศได้เช่นกัน กรดโอ เมก้า 3 ในอาหารทะเลเป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่สร้างสารคล้ายฮอร์โมนชื่อ พลอสตาแกลนดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบประสาทในด้านการตอบสนองทางเซ็กซ์ และเคยใช้เป็นสารที่ใช้ฉีดเฉพาะที่ในชายที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดคลายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าน้ำมันปลาแคปซูลจะให้ผลเหมือนอาหารธรรมชาติ ฉะนั้นคุณผู้ชายไม่ต้องวิ่งไปซื้อน้ำมันปลามารับประทานให้สิ้นเปลืองเปล่าๆ สรุป แล้วบทกวีของ Eunuchus ให้ข้อแนะนำที่ดีเป็นนัยให้คนเลือกอาหารและเครื่องดื่มที่ดี ซึ่งหมายถึงการมีโภชนาการที่ดีนั่นเอง และเมื่อร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะเป็นสูตรเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ดี ที่สุด เพราะถ้าคนเรามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ร่างกายก็มีความฟิตทุกส่วนนั่นเอง ก่อนจบก็ขอฝากสูตรในการกิน เพื่อเติมความโรแมนติกและสมรรถภาพทางเพศให้กับชีวิต อย่าลืม ผักและผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เป็นส่วนหนึ่งของความสมดุลของมื้ออาหาร กิน ปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับร่างกายว่าได้รับกรดโอเมก้า 3 เพียงพอ ดื่ม แต่พอสมควร ดื่มมากไปจะลดความรู้สึกการตอบสนองของประสาทที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ถือ ศีล 5 ในการงดสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินอาจลดความรู้สึกทางเพศในชาย ลดโอกาสการตั้งครรภ์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การวิจัยในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานดิเอโก พบว่า ชายวัยกลางคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีความฟิตมากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย เลือก อาหารที่มีวิตามินบีและซี ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสรรค์สื่อสัญญาณในสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทาง เพศ การสร้างสเปิร์ม และช่วยให้สเปิร์มแข็งแรง ยาบางชนิดอาจมีผลข้าง เคียงต่อความรู้สึกทางเพศ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ ทั้งหมด นี้ก็คือ หลักของโภชนาการดีร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอนั่นเอง ถ้าปฏิบัติตัวได้ตามสูตรข้างบนคงไม่ต้องเสียเงินซื้อยาโด๊ปต่างๆ ให้สิ้นเปลือง
|
![]() |
แหล่ง ที่มา » อาจารย์ ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ |